กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553

ส่งงาน







ตอบ  4

บทนำ
สังคมปัจจุบัน กำลังมีความกังวลและมีข้อข้องใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งมีทั้งพืชสัตว์และจุลินทรีย์ หรือที่เราเรียกกันว่า จีเอ็มโอ” (GMOs) ว่าการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะมีผลกระทบต่อร่างกายหรือไม่ อย่างไร ทั้งในแง่ประโยชน์และโทษ เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่นี้มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้และทำความรู้จักกับ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องและมีความเข้าใจในประเด็นความมากขึ้น
เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับจีเอ็มโอ รวมทั้งอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องและไขข้อสงสัยต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นเช่น ผลกระทบต่อร่างกายจากการบริโภคอาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ รวมถึงหน่วยงานในประเทศไทยที่มีหน้าที่ตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหารทั้งที่เป็นวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป หากเรามีความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วก็จะสามารถศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์จากจีเอ็มโอ ในการพัฒนาการบริโภคและการเกษตรกรรมของไทยต่อไป
1.จีเอ็มโอ คืออะไร มีอันตรายหรือไม
จีเอ็มโอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมเป็นผลผลิตจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม (เทคนิกการตัดต่อยีน) ในพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงตามที่ต้องการ เช่น ต้านทานแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมหรือเพิ่มสารโภชนาการบางชนิด เช่น วิตามิน
การพิจารณาว่าจีเอ็มโอปลอดภัยต่อผู้บริโภคและ/หรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น จะต้องผ่านการทดสอบหลายด้านเพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรม และมีบทบาทในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และก่อนที่ผู้ลิตรายใดจะนำจีเอ็มโอ หรือผลผลิตจากจีเอ็มโอแต่ละชนิดออกไปสู่ผู้บริโภคได้นั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิด ทั้งที่นำมาบริโภคเป็นอาหาร หรือนำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ มีความปลอดภัย
2.จีเอ็มโอ คือ สารปนเปื้อน ที่มีอันตรายใช่หรือไม่
จีเอ็มโอ ไม่ใช่สารปาเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จีเอ็มโอคือสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลพวงของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติที่ดีตามที่ต้องการ เช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะที่สุกงอมช้ากว่าปกติ การดัดแปรพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง เป็นต้น
ดังนั้นการใช้คำว่า ปนเปื้อนในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ปนเปื้อนมีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่น ไม่ต้องการให้สารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหาร
3. การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่
การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรม
วิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีนก็คือ
- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน
- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ อะโกรแบคทีเรีย” (ซึ่ง 2 วิธีหลังนี้ใช้สำหรับการถ่ายยีนเข้าพืชเท่านั้น) วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปในขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต
4. อาหารประเภทใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
อาหารที่มีอาจมีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น แคนาดา และอื่นๆ ได้แก่ อาหารประเภทถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ และผักบางชนิด เป็นต้น แต่อาหารเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมาแล้ว จึงสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีน้ำนมจากแม่โคที่ได้รับฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบสารนี้ตกค้างในน้ำนม อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่จีเอ็มโอ
5. หากเราเปรียบเทียบการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ กับอาหารทั่วไป ประโยชน์หรือโทษที่จะได้รับหรือผลที่มีต่อร่างกายจะมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะต้องผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยโดยใช้หลักการเทียบเท่า” (Substantial equivalence) ตามมาตรฐานสากล Codex และได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลก่อนนำออกจำหน่ายแก่ผู้บริโภค เช่น ในประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปทุกประเภทต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอซึ่งผ่านกระบวนการประเมินความปลอดภัยและได้รับรองจาก อย.แล้วนั้น มีคุณประโยชน์หรือโทษไม่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันกับที่ไม่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ
ตามปกติแล้วคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ และอาหารทั่วไปนั้นมีความเทียบเท่ากัน เว้นแต่กรณีที่มีการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างเข้าไปในจีเอ็มโอซึ่งเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้น ก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าอาหารปกติ
6. ผลกระทบของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ที่มีต่อร่างกายมีในทางลบหรือไม่ และมีความแตกต่างกันไหมระหว่างผลที่มีกับเด็ก หรือผู้ใหญ่
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นต่อร่างกายของผู้บริโภคทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและได้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยมาแล้ว
7. ถ้ารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในตอนนี้ จะเกิดผลเสียกับร่างกายในอนาคตหรือไม่ จะแน่ใจได้อย่างไร
ขณะนี้ยังไม่มีการรายงานว่า ผู้บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอเข้าไปแล้ว อาหารนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว เนื่องจากการพัฒนาพันธุ์โดยเทคโนโลยีชีวภาพนั้นมีความจำเพาะสูง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพันธุ์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้แล้วข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการประเมินความปลอดภัยนั้น จะต้องพิสูจน์ได้ว่าสารพันธุกรรมและผลผลิตที่เกิดขึ้น จะต้องปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์และมีการบริโภคกันมา 9-10 ปีแล้ว ส่วนในทางการแพทย์นั้นเทคโนโลยีดัดแปรพันธุกรรมได้เข้ามามีบทบาทนานมากแล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ อินซูลิน ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และยังมียารักษาโรคอีกหลายชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้อินซูลิน ยา และอาหารที่ได้ออกจำหน่ายไปแล้ว
8. จริงหรือไม่ที่อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอมีสารก่อให้เกิดมะเร็งหรือทำให้เป็นมะเร็ง
ยังไม่มีรายงานใดที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอจะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง ในทางตรงกันถ้ารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง หรือสารพิษของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด หรืออาหารที่ไหม้เกรียมจะมีโอกาสสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในร่างกาย
9. จริงหรือไม่ ที่รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอแล้วก็เหมือนเป็นอาหารผีดิบ เพราะมีการตัดต่อพันธุกรรมจะทำให้ร่างกายเปลี่ยนไป หรือพันธุกรรมของคนเปลี่ยนไป
แท้ที่จริงแล้วอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอไม่ใช่อาหารผีดิบแต่อย่างใด การที่มีการเรียกชื่ออาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอว่าเป็นอาหารผีดิบนั้น เป็นเพราะความไม่เข้าใจถึงพื้นฐานทางวิชาการที่ถูกต้อง และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือข้อมูลทางการแพทย์ ที่บ่งชี้ว่าการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ จะทำให้พันธุกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไป เนื่องจากในความเป็นจริงเมื่อมนาย์บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ ส่วนประกอบทั้งหมดในอาหารจะถูกย่อยสลาย โดยระบบย่อยอาหารของมนุษย์ เช่นเดียวกันกับอาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอ หลังจากนั้นร่างกายจะนำสารอาหารที่ได้จากย่อยสลายไปใช้ประโยชน์
10. ในอนาคตควรพิจารณาอย่างไรว่าอาหารใดปลอดภัยที่จะรับประทาน ควรงดอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอ เลยใช่หรือไม่
หากพิจารณาบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้วนั้น มีความปลอดภัยไม่แตกต่างจากอาหารชนิดอื่น
11. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอในประเทศไทย มีมาตรการอย่างไรที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าอาหารจีเอ็มโอปลอดภัย และมีหน่วยงานใดที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยคือ อาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้
นอกจากนี้ อย.ยังได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545 เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิกการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค โดยประกาศฯ ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เทื่อวันที่ 11 พ.ค. 2546 ส่วนหน่วยงานในประเทศไทยที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร
12. อาหารที่มีส่วนประกอบเป็นจีเอ็มโอนั้นมาจากประเทศใดบ้าง
วัตถุดิบที่จะนำมาใช้เป็นอาหารส่วนใหญ่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา อาเจนตินา แคนาดา และในอนาคตอาจจะมีจากกลุ่มประเทศในยุโรป เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ สหภาพยุโรปได้อนุญาให้ประเทศสมาชิกสามารถปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อการค้าแล้ว
13. มีหน่วยงานใดทั้งในและต่างประเทศที่ดูแลความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอ

ไม่ว่าจะเป็นอาหารจีเอ็มโอ หรืออาหารที่ไม่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบ อาจมีความเสี่ยงได้ทั้งสิ้น เช่น สารตกค้างบางชนิดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นต้น ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่มีสิ่งใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอาหารจีเอ็มโอที่จะออกมาสู่ผู้บริโภค จะต้องผ่านการประเมินแล้วว่ามีความปลอดภัยเทียบเท่ากับอาหารที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ
องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องดังกล่าวภายในประเทศได้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ส่วนองค์กรในต่างประเทศได้แก่ USFDA ในสหรัฐอเมริกา Health Canada ในประเทศแคนาดา และ The Royal Society ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น
14. จีเอ็มโอเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากน้อยแค่ไหน อย่างไร

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันผลผลิตของประเทศได้รับความเสียหายอย่างมากจากโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จ จึงต้องมีการเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมมาช่วยแก้ปัญหา
การดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรมเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ภาวะดินเค็ม ดินเปรี้ยว เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือจากด้านการเกษตรแล้ว ยังมีการนำไปใช้อุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ อินซูลินที่ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัคซีนบางชนิด และเอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็ง เป็นต้น
15. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารชนิดไหนปลอดภัย หรือถูกตรวจสอบและได้รับอนุญาตแล้วว่าปลอดภัย

ในประเทศไทย อาหารที่ได้การรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาถือได้ว่าผ่านการตรวจสอบและมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะบริโภค










ตอบ  2
ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
    แอลลีล (Allele) คือยีนที่ประกอบหรือยีนที่อยู่กันเป็นคู่กันเฉพาะลักษณะหนึ่ง ๆ เป็นยีนที่อยู่บนตำแหน่ง
เดียวกันของโครโมโซมที่เป็นคู่กัน เช่น
T เป็นแอลลีล กับ t แต่ไม่เป็น แอลลีลกับ S หรือ s ซึ่งควบคุมลักษณะ
อื่น ลักษณะใดที่ถูกควบคุมด้วยแอลลีลมากกว่า 1
 คู่จะเรียกว่า multiple alleles
     Dominant Allele หมายถึงแอลลีลที่แสดงลักษณะให้เห็นได้ทั้งในสภาพที่เป็น homozygote และ heterozygote
        Recessive Allele หมายถึงแอลลีลที่จะแสดงลักษณะให้ปรากฏได้ก็ต่อเมื่อเป็น homozygote เท่านั้น
     แอนติเจน (antigen) โปรตีนบนผิวเซลล์ที่สามารถทำปฏิกิริยากับแอนติบอดีที่เฉพาะกับชนิดของตัวเอง
อาจเป็นเชื้อโรคก็ได้
     แอนติบอดี (antibody) โมเลกุลโปรตีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจจับและทำลายแอนติเจนที่มากระตุ้น
หรือพลัดหลงเข้ามาในกระแสเลือดหรือภูมิคุ้มกัน
     ออโตโซม (autosome) โครโมโซมภายในนิวเคลียส ยกเว้นโครโมโซมเพศ แต่ละเซลล์ของมนุษย์
มี 46 โครโมโซม เป็น ออโตโซม 44 แท่ง อีก 2 แท่ง คือโครโมโซมเพศ
     เผือก (albino, albinism) สภาวะหรือคนที่ไม่สามารถสร้างสารสีชนิดเมลานินที่ตา ผม ผิวหนัง
ในมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมแบบด้อยบนออโตโซม
     เทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) การใช้เทคนิคที่ได้จากผลงานวิจัยทางชีวภาพมาพัฒนา
ผลผลิตต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิต สุขอนามัยและการเกษตร
     เบส (base) ทางเคมีหมายถึง สารที่ทำปฏิกิริยากับกรดแล้วได้เกลือกับน้ำ แต่ในทางพันธุศาสตร์ี้หมายถึง
สารประกอบไนโตรเจนชนิดพิวรีนหรือไพริมิดีนที่ทำพันธะกันในสายดีเอ็นเอ หรืออาร์เอ็นเอ เบสของดีเอ็นเอ
มี 4 ชนิดได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และไทมีน(T) เบสของอาร์เอ็นเอมี 4 ชนิด เช่นกัน
ได้แก่ อะดีนีน(
A) กัวนีน(G) ไซโทซีน(C) และยูราซิล(U) คำนี้ยังมีความหมายอื่นในสาขาคณิตศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
     พาหะ (Carrier) คือ ผู้ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมปกติ แต่มียีนผิดปกติของลักษณะนั้นแฝงอยู่
     ผสมข้าม (cross, crossing) การผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียที่มาจากต่างต้นหรือ
ต่างดอกกัน การผสมของสัตว์เซลล์สืบพันธุ์ต่างตัวกัน
     การโคลน (cloning) กระบวนการผลิตหรือทำซ้ำเพื่อให้ได้สิ่งมีชีวิตตัวใหม่ หรือต้นใหม่ที่เหมือนต้นแบบเดิม
     เซนโตรเมียร์ (centromere) ส่วนของโครโมโซมที่เส้นใยสปินเดิลเข้าเกาะ และเป็นส่วนที่เชื่อมติดต่อ
ระหว่างซิสเตอร์โครมาติด ในช่วงการแบ่งเซลล์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า
primary constriction
       โครมาติน (chromatin) ก้อนดีเอ็นเอและโปรตีนที่รวมกันเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียส
      โครมาติด (chromatid) แท่งหนึ่งหรือหน่วยหนึ่งในสองหน่วยของโครโมโซมในระยะแบ่งเซลล์ที่มี
การสังเคราะห์ดีเอ็นเอเพิ่มเป็น 2 เท่า ทำให้ 1 โครโมโซมมี 2 โครมาติด
     ซิสเตอร์โครมาติด (sister chromatids) โครมาติดที่เกิดจากการสังเคราะห์ของโครโมโซมแท่งเดียวกัน
     Chromosome โครโมโซมคือโมเลกุล ดีออกซีไรโบนิวคลีโอโปรตีน อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในระหว่าง
การแบ่งเซลล์จะมองเห็นเป็นแท่งติดสีเข้ม ในเชิงพันธุศาสตร์โครโมโซมมีหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมไว้ใน
ลักษณะของการเรียงลำดับนิวคลีโอไทด์บนดีเอนเอ
     โครโมโซม x (x chromosome) โครโมโซมเพศแท่งยาวในสิ่งมีชีวิตที่เพศเมียมีโครโมโซมเพศเหมือนกัน 2 แท่ง (xx)
     วัฎจักรเซลล์ (cell cycle) ระยะต่างๆ ที่พบในการเจริญเติบโตของเซลล์ตั้งแต่อินเตอร์เฟสจนถึงสิ้นสุด
ไมโตซิส
     โคลน (clone) เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจากเซลล์เดียว มีความเหมือนกันทุกอย่าง
     ครอสซิงโอเวอร์ (Crossing over) คือ ปรากฏการณ์ที่โครมาติดของโครโมโซมเส้นหนึ่งแลกเปลี่ยน
กับโครมาติดของโครโมโซมอีกเส้นหนึ่ง ซึ่งเป็นโฮโมโลกัสกัน
     เด่น (dominance) ปรากฏการณ์ที่แอลลีลหนึ่งสามารถแสดงฟีโนไทป์ออกมาโดยสามารถข่มหรือบดบัง
การแสดงออกของอีกแอลลีลหนึ่งได้ เมื่อพันธุกรรมหนึ่งนั้นเป็นเฮทเทอโรไซกัสแล้วและมีโอกาสปรากฏในรุ่น
ต่อมาเป็นสัดส่วนมากกว่า เขียนด้วยตัวย่อภาษาอังกฤษตัวใหญ่แทนยีนเด่น เช่น สูง ถนัดมือขวา
     ด้อย (recessive) คำที่ใช้เรียกแอลลีลที่ไม่สามารถแสดงลักษณะออกมาเมื่ออยู่ในจีโนไทป์ที่เป็น
เฮทเทอโรไซกัสกับอีกแอลลีลหนึ่ง
     ลักษณะเด่นสมบูรณ์ (Complete dominance) หมายถึงลักษณะที่แสดงออก (phenotype) ที่ gene
เด่นสามารถข่ม
gene ด้อยได้อย่างสมบูรณ์
     ข่มไม่สมบูรณ์ (incomplete dominance) การแสดงออกของพันธุกรรมที่แอลลีลหนึ่งไม่สามารถข่ม
อีกแอลลีลหนึ่งได้
     ลักษณะเด่นร่วม (Co-dominant) หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ gene แต่ละยีนที่เป็นแอลลีล (allele) กันมีลักษณะเด่นทั้งคู่ข่มกันไม่ลง จึงแสดงออกมาทั้ง 2 ลักษณะ เช่น กรรมพันธุ์ของหมู่เลือด AB
      ดับเบิลเฮลิกซ์ (double helix) รูปแบบการพันเกลียวแบบคู่ขนานกลับหัวท้ายของสายดีเอ็นเอ  ที่ค้นพบโดยวัทสันและคริก
      ดิพลอยด์ (diploid) สภาวะของสิ่งมีชีวิตที่แต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่เป็นคู่กัน 2 แท่ง (2 n)
      แฮพลอยด์ (haploid) เซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมครึ่งหนึ่งของปกติ
      ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) โครโมโซมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละแห่งของแต่ละคน  ซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยความเป็นเจ้าของหรือคดีความต่างๆ ได้
      วิวัฒนาการ (evolution) กำเนิดของพืชและสัตว์จากบรรพบุรุษที่มีลักษณะโบราณกว่า
      เอนไซม์ (enzyme) โปรตีนที่ทำหน้าที่ควบคุมปฏิกิริยาทางชีวเคมีในเซลล์
      ลูก F1 (first filial generation) ลูกรุ่นที่ 1 ลูกที่เกิดจากการแต่งงานหรือผสมข้ามพันธุ์รุ่นแรกหรือ ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
      ลูก F2 (second filial generation) ลูกรุ่นที่ 2 ลูกที่เกิดจากการผสมภายในลูกรุ่นที่ 1 (ลูก F1)  หรือรุ่นหลาน
      จีโนไทป์ (Genotype) หมายถึง แบบของยีนที่อยู่เป็นคู่ ๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตได้รับมาจากพ่อและแม่ มีหน้าที่ ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตในร่างกาย การเขียนจีโนไทป์ เขียนได้หลายแบบ เช่น TT , Tt , tt , T/T , T/t , t/t
      ฟีโนไทป์ (phenotype) หมายถึง ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏให้เห็น เช่น ลำต้นสูงกับเตี้ย
      ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอด  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ยีน T, ยีน t , ยีน R , ยีน r
      Polygene หรือ Multiple gene หมายถึง ลักษณะทางกรรมพันธุ์ ที่มียีน (gene) หลายคู่  (มากกว่า 2 alleles) ที่ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อควบคุม phenotype อย่างเดียวกันจึงทำให้เกิดลักษณะที่มี ความแปรผันกันแบบต่อเนื่องคือลดหลั่นกันตามปริมาณของยีน เช่น ลักษณะความสูงเตี้ยของคน  จะมีตั้งแต่สูงมาก สูงปานกลาง เตี้ย
      ลิงค์ยีน (linked gene) คือ ยีนที่อยู่บนโครโมโซมเดียวกัน
      ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (Sex-linked gene หรือ x - linked gene) เป็นพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน ที่อยู่บนโครโมโซม X แต่ไม่อยู่บนโครโมโซม Y เช่น ยีนที่แสดงสีตาของแมลงหวี่, โรคโลหิตไหลไม่หยุด
      จีโนม (genome) ลำดับ จำนวน และชนิดของยีนที่มีในสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว
      จีเอ็มโอ (GMOs) สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแอลลีลพันธุกรรมบางตัว เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
      พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) เทคนิคการเปลี่ยนหรือดัดแปลงยีน กลุ่มยีน หรือ  หน่วยพันธุกรรมในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการคัดเลือก คัดออก แทรกใส่ หรือตกแต่งดัดแปลงเพื่อให้นำมาใช้  ประโยชน์
      แกมมีต (gamete) เซลล์สืบพันธุ์ที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ปกติ มนุษย์มีเซลล์สืบพันธุ์  สองเพศคือเพศผู้คือ sperm และเพศเมียคือ egg
      รหัสพันธุกรรม (genetic code) กลุ่มรหัสที่มีลำดับเบส 4 ตัวในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอแต่ละรหัส   (โคดอน) ประกอบด้วยลำดับเบส 3 ตัวซึ่งจะทำหน้าที่ดึงกรดอะมิโนเฉพาะชนิดเข้ามาต่อกันในการสร้างโปรตีน
      พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ (Heredity) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต  จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง หรือจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน
      ฮีโมฟีเลีย (hemophilia) คือ โรคพันธุกรรม ซึ่งควบคุมโดยยีนเกี่ยวกับเพศ อาการของ โรคนี้ คือ   เลือดจะแข็งตัวช้า
      ลูกผสม (hybrid) ลูกที่เกิดจากการผสมข้ามระหว่างพ่อแม่ที่มีจีโนไทป์ต่างกัน
      homozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนเหมือนกัน ควบคุมลักษณะหนึ่ง เช่น
  TT = homozygouse  dominant gene (เด่นพันธุ์แท้)   
tt  = homozygouse  recessive gene (ด้อยพันธุ์แท้)
      heterozygouse เป็นสภาพของสิ่งมีชีวิตที่มียีน 2 ยีนแตกต่างกันและควบคุมลักษณะหนึ่ง
  เช่น  Tt  = heterozygouse  gene (พันธุ์ทาง = hybrid) 
      โลคัส (locus) ตำแหน่งที่อยู่ของยีนบนโครโมโซม
       Monohybrid cross หมายถึง การผสมพันธุ์โดยพิจารณาเพียงลักษณะเดียว แต่ถ้าเป็นการผสมพันธุ์  โดยศึกษาหรือพิจารณาทั้ง 2 ลักษณะควบคู่กัน เรียกว่า Dihybrid crosses
      ออร์แกเนลล์ (organelle) โครงสร้างขนาดเล็กในเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะด้าน ตัวอย่าง ไมโตคอนเดรีย
      อาร์เอ็นเอ (RNA) กรดไรโบนิวคลิอิก สายพอลินิวคลิโอไทด์แตกต่างจากดีเอ็นเอตรงที่เป็นสายเดี่ยว  ของน้ำตาลไรโบสและเบสไพริมิดีนเป็นชนิดยูราซิลแทนที่ไทมีน แบ่งเป็นไรโบโซมมัล อาร์เอ็นเอ (RNA)   เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (m RNA) ทรานส์เฟอร์ อาร์เอ็นเอ (t RNA) และนิวเคลียร์อาร์เอ็นเอ
      เซลล์ร่างกาย (somatic cell) เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มิได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์
      ผสมตัวเอง (selfing) การผสมของเซลล์สืบพันธุ์ภายในต้นพืชต้นเดียวกัน การผสมหรือปฏิสนธิ  ที่เกิดได้เอง
      พงศาวลี,เพดดีกรี (pedegree) แผนภาพแสดงลำดับ ความสัมพันธ์ของบุคคลในตระกูลเดียวกัน  เพื่อดูการถ่ายทอดพันธุกรรมหรือโรคพันธุกรรมบางชนิด
      พันธุ์แท้ (pure line = bred true) สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการผสมภายในประชากรเดียวกันมาเป็นเวลานาน  จนมีจีโนไทป์เป็นโฮโมไซกัสกัน หรือสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมแบบเดียวกันในประชากร
      Locus หมายถึงตำแหน่งของยีนบนโครโมโซม
      มิวเตชัน (mutation) คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนที่ผิดไปจากเดิม ซึ่งลักษณะนี้ สามารถถ่ายทอด  สืบต่อไปยังรุ่นลูกและรุ่นต่อ ๆ ไป
      ไมโตซิส (mitosis) การแบ่งเซลล์ที่ทำให้ได้เซลล์ลูก 2 เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม แบ่งเป็น  ระยะย่อย 4 ระยะคือ โพรเฟส เมตตาเฟส แอนนาเฟส และเทลโลเฟส ตามด้วยไซโตไคเนซิส
      ไมโอซิส (meiosis) การแบ่งเซลล์แบบที่มีการลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง พบในกระบวนการ  สร้างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเพศเมียในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง หลังจากแบ่งเสร็จแล้วจะได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 เซลล์    เพศเมียจะมีเพียงเซลล์เดียวที่พัฒนาไปเป็นไข่ อีก 3 เซลล์จะฝ่อไป
      นิวเคลียส (nucleus) 1. ทางเคมีหมายถึงแกนกลางของอะตอมที่ประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอน   2. ทางชีววิทยาหมายถึง ใจกลางของเซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบภายใน เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม
      สปีชีส์ (species) ประชากรภายใต้กลุ่มเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์กัน และมีลูกสืบทอดสายพันธุ์ได้  โดยไม่เป็นหมัน
      เส้นใยสปินเดิล (spindle fiber) เส้นใยไฟเบอร์ที่สร้างจากการเรียงต่อกันของไมโครทิวบูล   พบในช่วงการแบ่งเซลล์ ทำหน้าที่ดึงโครมาติดให้แยกจากกัน ไปเป็นโครโมโซมอิสระในเซลล์ลูก
      ไตรโซมี (trisomy) สภาวะของเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง   ทำให้โครโมโซมที่เกินมานั้นมี 3 แท่ง
      กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
  1. DNA – ทำหน้าที่เป็นสารพันธุกรรม  2. RNA - ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
  ส่วนประกอบของ DNA กลุ่มฟอสเฟต น้ำตาลดีออกซีไรโบส เบสไซโตซีน เบสอะดีนีน เบสกวานีน เบสไทมีน
      ไซโกต (zygote) เซลล์ที่เกิดจากการปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเพื่อไปเป็นชีวิตใหม่












ตอบ  2
กฎเกณฑ์ทางพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบนั้นไม่ใช่จะใช้ได้เฉพาะกับต้นถั่วลิสงเท่านั้น แต่เป็นกฎที่ใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศรวมทั้งมนุษย์ด้วย มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ แต่ละโครโมโซมมียีนมากมายหลายกลุ่มเรียงต่อๆ กันไป ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลเท่านั้นที่นักพันธุศาสตร์ได้ศึกษาไว้แล้วมีจำนวนมากมาย ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภทคือ ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในออโตโซม และลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซมเพศ
ยีนในออโตโซม
โครโมโซมที่เป็นออโตโซมในคนมีอยู่ด้วยกัน 22 คู่ ในออโตโซมแต่ละคู่มียีนจำนวนมาก ตัวอย่างของยีนที่อยู่บนออโตโซมมี ดังนี้
ยีนที่ทำให้เกิด โรคทาลัสซีเมีย (thalassemia) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมทางโลหิตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการโลหิตจางมาแต่กำเนิด มีดีซ่านร่วมด้วย ถ้าเป็นมากจะมีการเจริญเติบโตไม่สมอายุ ตับและม้ามโต หัวใจวายและอื่นๆ ยีนที่ทำให้เกิดโรคทาลัสซีเมีย เป็นยีนผิดปกติที่มีผลทำให้การสร้างพอลิเพปไทด์ในฮีโมโกลบินผิดปกติ ฮีโมโกลบินแต่ละโมเลกุลจะประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ 4 สาย คือ สายแอลฟา 2 สาย และสายเบต้า 2 สาย และฮีมซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ ถ้าการสร้างพอลิเพปไทด์สายแอลฟาผิดปกติจะเป็นโรคแอลฟาทาลัสซีเมีย ส่วนการสร้างพอลิเพปไทด์สายเบตาผิดปกติจะเป็นโรคเบตาทาลัสซีเมีย
ยีนที่ทำให้เกิดโรคแอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นยีนด้อยอยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 16 ยีนที่ทำให้เกิดโรคเบตาทาลัสซีเมีย เป็นยีนด้อยที่อยู่ในโครโมโซมคู่ที่ 11 โรคทาลัสซีเมียจึงอาจจะมีจีโนไทป์ผิดปกติได้หลายแบบ
ในประเทศไทยมีประชากรที่มียีนทาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 20-30 คน ที่มีจีโนไทป์ซึ่งมีแอลลีลที่ผิดปกติ แต่ไม่แสดงอาการของโรค คนเหล่านี้เรียกว่า พาหะ (carrier) ซึ่งสามารถถ่ายทอดยีนที่ทำให้เกิดโรคทาลัสซีเมียได้ ถ้าพ่อและแม่บังเอิญเป็นพาหะของยีนทาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน หรือชนิดที่เข้าคู่กันแล้วจะทำให้เกิดโรคก็มีโอกาสมีลูกเป็นโรคทาลัสซีเมีย 25% คนไทยเป็นโรคนี้ประมาณ 1% ของประชากร โรคทาลัสซีเมียจึงก่อให้เกิดปัญหามิใช่ทางการแพทย์ แต่ก็มีผลทางด้านสาธารณสุข สังคมและเศรษฐกิจ อีกด้วย
ในการศึกษาพันธุกรรมของคน นักพันธุศาสตร์นิยมใช้สัญลักษณ์ แสดงบุคคลต่างๆ ในครอบครัวทั้งที่แสดงลักษณะและไม่แสดงลักษณะที่กำลังศึกษาเท่าที่จะสามารถสืบค้นได้ แผนผังเช่นนี้เรียกว่า เพดดีกรี (pedigree)
มัลติเปิลแอลลีล (multiple alleles)
ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะ มียีนในแต่ละกลุ่มแอลลีลมากกว่า 2 แบบขึ้นไป กลุ่มแอลลีลที่มียีนเกินกว่า 2 แบบขึ้นไป เราเรียว่า มัลติเปิลแอลลีล
หมู่เลือด ABO ของคนก็มียีนควบคุมอยู่ 3 แอลลีล คือ IA, IB, และ i (ลักษณะ I ใช้แทนแอลลีลที่ควบคุมการสังเคราะห์ สารไอโซแอกกลูติโนเจน (isoagglutinogen) ซึ่งเป็นแอนติเจนที่เม็ดเลือดแดง) โดย IA, IB เป็นแอลลีลที่ควบคุมการสังเคราะห์แอนติเจน A และ B ตามลำดับ ซึ่งต่างก็เป็นยีนเด่นทั้งคู่ ส่วน i เป็นแอลลีลที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถสังเคราะห์แอนติเจน A หรือ B ซึ่งเป็นยีนด้อย หมู่เลือดของคนจึงมีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์หลายแบบดังนี้
ยีนในโครโมโซมเพศ
โครโมโซม X ของคนมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y หลายเท่า ในโครโมโซม X มียีนจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งยีนควบคุมลักษณะทางเพศและยีนที่ควบคุมลักษณะอื่นๆ ด้วย นักพันธุศาสตร์เรียกยีนในโครโมโซม X และโครโมโซม Y ไม่ว่าจะควบคุมลักษณะเพศหรือไม่ก็ตามว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับเพศ (sex-linked gene) และเรียกยีนในโครโมโซม X ว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกับ X (X-linked gene) ตัวอย่างลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia) และ ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) หรือ G-6-PD
โรคฮีโมฟีเลียมีอาการเลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากขาดสารอาหารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เมื่อถูกอากาศผู้ป่วยจึงเสียเลือดมากเมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้น ดังที่ปรากฏหลักฐานในราชวงศ์พระนางวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ตามตัวอย่างของเพดดรีกรี โรคนี้ควบคุมด้วยยีนด้อยในโครโมโซม X มีแอลลีลที่เกี่ยวข้องคือ H และ h มีจีโนไทป์ และฟีโนไทป์ ดังนี้
ยีนในโครโมโซมเดียวกัน
ได้กล่าวมาแล้วว่า ในโครโมโซมแต่ละโครโมโซมมียีนจำนวนมากมายหลายกลุ่ม สมมติว่า สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีจีโนไทป์ A/a B/b และยีนกลุ่ม A, a กับกลุ่ม B, b อยู่ต่างโครโมโซมกัน ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ย่อมจะเกิดเซลล์สืบพันธุ์ 4 แบบด้วยกัน ตามกฎข้อที่สองของเมนเดล คือ แบบ AB, Ab, aB และ ab แบบละเท่าๆ กัน ดังภาพ
ถ้าในโครโมโซมเดียวกันมียีนหลายยีน เช่น ในฮอมอโลกัสโครโมโซมที่มีกลุ่มยีน B, b เมื่อมีกลุ่มยีน C, c อยู่ใกล้ๆ บนโครโมโซมเดียวกัน เขียนจีโนไทป์ได้เป็น ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เมื่อมีการแยกคู่ของฮอมอโลกัสโครโมโซม ยีนในโครโมโซมเดียวกันก็จะไปด้วยกัน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตนี้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ 2 แบบ คือ BC และ bc
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ขณะที่ฮอมอโลกัสโครโมโซมเข้าคู่กันนั้น โครโมโซมที่มาชิดกันมีโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนโครมาทิดซึ่งกันและกัน (crossing over) จึงทำให้ยีนในโครมาทิดถูกแลกเปลี่ยนไปด้วย การแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มยีน B, b กับกลุ่มยีน C, c จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างยีน 2 กลุ่มนี้ ถ้ายีนทั้งสองอยู่ชิดกันมากย่อมมีโอกาสแลกเปลี่ยนกันได้น้อย แต่ถ้าอยู่ห่างกันย่อมมีโอกาสมากขึ้นตามลำดับ เมื่อแลกเปลี่ยนกันแล้วจะทำให้มีเซลล์สืบพันธุ์จำนวนหนึ่งเป็นแบบ Bc และ bC แต่เซลล์สืบพันธุ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบ BC และ bc เนื่องจากไม่มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครมาทิดกัน
ยีนที่มีแนวโน้มที่จะแยกตัวไปด้วยกัน ทำให้เซลล์สืบพันธุ์บางประเภทมากเป็นพิเศษ โดยที่ยีนไม่รวมกลุ่มกันอย่างอิสระตามกฎข้อที่สองของเมนเดล เราเรียกว่า ยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน (linked genes) เช่น ยีน B, C กับยีน b, c เป็นยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน แต่ยีน A, a กับ B, b ไม่ใช่ยีนที่เกี่ยวเนื่องกัน และเรียกยีนในฮอโมโลกัสโครโมโซมคู่เดียวกันว่า ยีนในกลุ่มเดียวกัน









ตอบ  1
ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
   เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว
   จำแนกพืชในดิวิชันไบรโอไฟตาได้เป็น 3 คลาส (Class) ดังต่อไปนี้
1.คลาสเฮปาทิคอปซิดา (Class Hepaticopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000 ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella    แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตนอหลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา (gemma) อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมาหลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพสแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วน ๆ (fragmentation) สเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นก้านชูที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์
2.คลาสแอนโทเซอรอปซิดา (Class Anthoceropsida) เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบนของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่าฮอร์นเวิร์ต
3.คลาสไบรออฟซิดา (Class Bryopsida) เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) เป็น ไบรโอไฟต์กลุ่มที่มีมากที่สุด คือประมาณ 9,500 ชนิด ต้นแกมีโทไฟต์มีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ส่วนที่คล้ายใบเรียงตัวเป็นเกลียวโดยรอบส่วนที่คล้ายลำต้น มีไรซอยต์อยู่ในดิน สปอโรไฟต์มีลักษณะง่าย ๆ เกิดบนปลายยอดหรือปลายกิ่ง มีส่วนประกอบคือ ฟุต ก้านชูอับสปอร์ และอับสปอร์











ตอบ  1
หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่า "ไบรโอไฟต์" แต่หากบอกว่า "มอสส์" บางท่านอาจจะพอนึกภาพออก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอสส์จัดเป็นสมาชิกกลุ่มหนึ่งของไบรโอไฟต์เท่านั้น ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับไบรโอไฟต์กันให้มากยิ่งขึ้นกันดีกว่า       
          ไบรโอไฟต์มักขึ้นในที่ร่มและชุ่มชื้น เช่น ก้อนหิน เปลือกไม้ พื้นดิน เป็นต้น แต่บางครั้งเราอาจพบไบรโอไฟต์ขึ้นอยู่บนวัตถุที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ท่อน้ำพีวีซี พื้นซีเมนต์ ตุ๊กตาดินเผา เป็นต้น ไบรโอไฟต์เป็นพืชบกสีเขียวที่มีขนาดเล็ก ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง ไม่มีดอก และไม่มีรากที่แท้จริง มีไรซอยด์ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ช่วยในการยึดเกาะ การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถเข้าสู่ภายในของต้นโดยผ่านเซลล์ได้ทุกเซลล์ ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ จึงได้นิยมนำไบรโอไฟต์มาใช้เป็นดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (bioindicator) โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการศึกษาผลกระทบทางด้านมลพิษในอากาศ เพราะไบรโอไฟต์สามารถดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง         
          ไบรโอไฟต์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ มอสส์ ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ต ไบรโอไฟต์มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของป่าในด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่ของสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นพืชบุกเบิกในธรรมชาติ ซึ่งช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าที่รกร้างและแห้งแล้ง ให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง ที่สำคัญเซลล์ของไบรโอไฟต์ มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับน้ำได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว สามารถดูดซับได้ถึง 200-500% ของน้ำหนักแห้ง พืชกลุ่มนี้จึงเปรียบเหมือนฟองน้ำของป่าที่ช่วยดูดซับน้ำให้กับผืนป่า ไบรโอไฟต์จึงนับว่าเป็นพืชตัวน้อยที่นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศป่าเป็นอย่างมากกลุ่มหนึ่ง       
           ปัจจุบันมีการนำไบรโอไฟต์มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เช่น นำมาจัดตู้ปลา จัดสวน หรือแม้แต่นำมาเป็นวัสดุช่วยปลูกกล้วยไม้ นอกจากนี้ยังมีการค้นคว้าวิจัยในการสกัดสารเคมีจากไบรโอไฟต์บางชนิด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น มอสส์สกุลข้าวตอกฤาษี (Sphagnum) สามารถรักษาอาการตกเลือดอย่างเฉียบพลัน และโรคที่เกี่ยวกับตา (Pant, 1998) สำหรับประเทศไทยการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศที่มีการปลูกไบรโอไฟต์เป็นสินค้าส่งออกสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากมาย อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรมีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างดีตลอดไปด้วย








1 ความคิดเห็น:

  1. ประเมินผลงานของเพื่อนแล้ว
    ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะได้คะแนนประมาณ 90 คะแนน
    น.ส. ลฎาภา สังข์ทอง ชั้น ม. 6/3 เลขที่ 36

    ตอบลบ